แบดมินตันไทย อยู่ในอาการทรงตัวมานาน หลังจาก "บุญศักดิ์ พลชนะ" นักแบดมินตันชายเดี่ยว ความหวังของไทย ไม่ประสบความสำเร็จในกีฬาโอลิมปิกทั้ง 3 ครั้ง จนกระทั่ง มีดาวดวงใหม่นามว่า “รัชนก อินทนนท์ หรือน้องเมย์” เปล่งประกายขึ้นมาในปี พ.ศ. 2556 หลังจากเธอคว้าแชมป์อินเดีย โอเพ่นด้วยอายุเพียงสิบแปดปี จุดประกายให้สังคมไทยเริ่มสนใจในกีฬาแบดมินตันกันมากขึ้น “ รัชนก” กลายเป็นไอดอลของเยาวชนไทย ทำให้วัยรุ่นหันมานิยมกีฬาตีลูกขนไก่มากขึ้น จากเดิมก่อนหน้านี้ เด็กมัธยมส่วนใหญ่จะเล่นกีฬาสมัยนิยมอย่างเทควันโด้หรือเทนนิส ปิงปอง โรงเรียนสอนแบดมินตันและสนามฝึกซ้อม มีเด็กรุ่นใหม่เข้ามามากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คำพูดที่ว่า "กีฬาชนิดไหนที่มีฮีโร่ก็จะมีคนนิยมไปเองเป็นเรื่องจริง" กระแสความนิยมเหล่านี้ ได้ส่งผลสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เพราะจะมีนักกีฬาเก่งให้เลือกมากขึ้น
ความคิดที่ว่า “รัชนก” จะเป็นเหมือนฮีโร่คนที่ผ่านๆ มา คือ ดังวูบเดียวแล้วดับต้องหมดไป เมื่อเธอยังทำผลงานที่ยอดเยี่ยมมากกว่าเดิมในปีพ.ศ. 2559 “รัชนก” เดินหน้าคว้าแชมป์ซุปเปอร์ซีรี่ย์ถึง 3 ถ้วยรางวัลในเวลาเพียงสามสัปดาห์ และขึ้นเป็นมือหนึ่งหญิงของโลกได้สำเร็จ และกลายเป็นครั้งแรกที่นักกีฬาแบดมินตันไทยได้ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ออกโทรทัศน์ทุกช่อง แม้แต่สื่อต่างประเทศยังยกให้เธอเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ ความดังของเธอยังส่งผลต่อโรงเรียนเก่า หากเราไปสำรวจโรงเรียนบ้านทองหยอด ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนแบดมินตันซึ่งปลุกปั้นน้องเมย์มา ทุกวันนี้การสอนต้องแบ่งเป็นหลายรอบ เพราะครูฝึกมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวของไทยโชว์ผลงานโดดเด่นตามขึ้นมาอีกหลายคน เช่น น้องพีช พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข และน้องครีม บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ โดยทางสมาคมแบดมินตันตั้งความหวังให้พวกเธอสานต่อความสำเร็จของน้องเมย์ เพื่อที่กระแสแบดมินตันจะได้ไม่ขาดตอนอีก
บทความ โดย Sunny